ขยัน
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Bauhinia strychnifolia Craib
|
ชื่อพ้อง :
เครือขยัน สยาน หญ้านางแดง
วงศ์ :
FABACEAE
ชื่ออื่น :
ชื่อสามัญ :
ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง มีมือเกาะ ยาวประมาณ 5 เมตร ใบเดี่ยว รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัว ใจตื้น ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีเส้นใบ 3-5 เส้น ก้านใบยาว 2-3.5 เซนติเมตร หูใบรูปเคียว ดอกเป็นช่อกระจะ รูปทรงกระบอกแคบ สีแดง ออกที่ปลายกิ่ง ยาว 15-100 เซนติเมตร ดอกย่อยจำนวนมาก ใบประดับรูปลิ่ม ติดทน ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปถ้วย ยาว 0.5-1 เซนติเมตร มีขนสั้นปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ ยาว 1.2-1.5 เซนติเมตร สีแดงถึงแดงเข้ม เกสรเพศผู้ 3 อัน ก้านเกสรสีแดง ยื่นพ้นกลีบดอก เกสรเพศผู้เป็นหมัน 7 อัน ยาวไม่เท่ากัน รังไข่ยาวประมาณ 0.7 เซนติเมตร มีขนสั้นปกคลุม ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 0.7 เซนติเมตร ยอดเกสรเพศเมียไม่ชัดเจน ผลเป็นฝัก รูปขอบขนาน ปลายแหลม เปลือกแข็ง รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก แตกอ้า ยาว 15-16 เซนติเมตร เมล็ดรูปขอบขนาน 8-9 เมล็ด ยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร
ระยะเวลาออกดอกและติดผล : เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ ลำต้นหรือราก เข้ายาบำรุงโลหิตสำหรับสตรี
การกระจายพันธุ์ : เป็นพืชเฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบทางภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดเลย และกาฬสินธุ์ พบตามที่ราบลุ่ม ป่าเต็งรัง ผลัดใบ
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
ภาพอื่นๆ
แชร์โพสนี้ จำนวนผู้เข้าชม
4690