ชมนาดเล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Vallaris solanacea (Roth) Kuntze
|
ชื่อพ้อง :
ชำมะนาดเล็ก
วงศ์ :
APOCYNACEAE
ชื่ออื่น :
ชื่อสามัญ :
ไม้พุ่มรอเลื้อย มีน้ำยางขาว ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 0.8-3.6(-6) เซนติเมตร ยาว 2-11(-15) เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมหรือเป็นติ่งแหลมอ่อน โคนใบรูปลิ่ม ดอก เป็นช่อกระจุก สีขาวครีม มีกลิ่นหอม ก้านช่อดอกยาว 0.3-3.5เซนติเมตร กลีบเลี้ยงตั้ง กว้าง 0.9-1.5(-3) มิลลิเมตร ยาว 2.3-4(-7) มิลลิเมตร กลีบดอกสีขาว ครีม เหลืองอ่อน หรือเขียวเทา โคนกลีบเชื่อมกันเป็นหลอดดอก ยาว 6-10.5 มิลลิเมตร รูปไข่กลับถึงรูปไข่ ปลายกลม มีขนสั้นนุ่มด้านนอก ยกเว้นที่โคนดอก เกสรเพศผู้ที่เชื่อมติดกับโคนกลีบดอก ยาว 3-4.5 มิลลิเมตร ก้านชูอับเรณูยาว 1.2-2.6 มิลลิเมตร อับเรณู ยาว 2.1-3.4 มิลลิเมตร โคนรูปเงี่ยงลูกศร ยาว 0.6-1 มิลลิเมตร จานฐานดอกเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่มประปราย รังไข่มีขนสั้นนุ่มเป็นกระจุก ก้านเกสรเพศเมียและยอดเกสรเพศเมียยาว 6-6.7 มิลลิเมตร มีขนสั้นนุ่ม ผล แห้งแตกแนวเดียว กว้าง 1.5-3.5 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร เมล็ดรูปทรงรี กว้าง 3.5-5 มิลลิเมตร ยาว 9-10 มิลลิเมตร กระจุกขนยาว 3-4 เซนติเมตร
ระยะเวลาออกดอกและติดผล : ตลอดปี
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ
การกระจายพันธุ์ : ปากีสถาน อินเดีย และประเทศไทยพบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคกลาง บริเวณป่าละเมาะ ที่ความสูงได้ถึง 320 เมตร จากระดับน้ำทะเล
การขยายพันธุ์ : ปักชำ เพาะเมล็ด
ภาพอื่นๆ
แชร์โพสนี้ จำนวนผู้เข้าชม
4577