รวงผึ้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์:

Schoutenia glomerata King  subsp. peregrina (Craib) Rockm.

 

ชื่อพ้อง :

วงศ์ : MALVACEAE

ชื่ออื่น :

ชื่อสามัญ :

ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร  แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่น  ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-9 ซม. ปลายใบแหลม เส้นโคนใบ 1 คู่ ผิวใบด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีเกล็ดปกคลุม     ดอกแบบช่อกระจุก ออกตามกิ่งข้าง และมักบานพร้อมกัน   ดอกย่อยเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม.  กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแผ่ออกเป็น 5 กลีบ   รูปสามเหลี่ยม    กว้างและยาวประมาณ 4 มม. สีเหลืองสด ด้านนอกมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 25 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 6 มม. สีเหลือง  อับเรณูรูปรี  ยาว 2-3 มม. สีเหลือง  รังไข่เหนือวงกลีบ  รูปทรงกลมแป้น  สีขาวอมเขียวอ่อน   มีขนปกคลุมแน่น     เกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 5 แฉก โค้งลงเล็กน้อย ผลแห้งไม่แตก รูปกลม มีขนสีน้ำตาล

 

ระยะเวลาออกดอก        เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม

นิเวศวิทยา                 ขึ้นบริเวณที่ราบลุ่ม ที่น้ำท่วมถึง

การกระจายพันธุ์           กัมพูชา ไทย  ในไทยพบทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประโยชน์                   ปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากดอกสวยงามและมีกลิ่นหอม

การขยายพันธุ์               เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง  


ภาพอื่นๆ



แชร์โพสนี้         จำนวนผู้เข้าชม 4283

พรรณไม้อื่นๆ



กันภัยมหิดล

Afgekia mahidoliae B. L. Burtt & Chermsir.




ขยัน

Bauhinia strychnifolia Craib




แพงพวยฝรั่ง

Catharanthus roseus (L.) G. Don


Suanluang RAMA IX © 2018 | All Rights Reserved