ยอ
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Morinda citrifolia L.
|
ชื่อพ้อง :
วงศ์ :
RUBIACEAE
ชื่ออื่น :
ยอบ้าน ยอป่า แยใหญ่
ชื่อสามัญ :
ไม้ต้น สูง 4-8 เมตร สูง 1-2 ม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี กว้าง 16 ซม. ยาว 29 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ใบเป็นคลื่น ด้านบนใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น แกนกลางช่ออวบน้ำ ออกตรงข้ามใบ ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นวงสั้น กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบ ปลายแยกเป็น 4-5 กลีบ เกสรเพศผู้ 4-5 อัน ติดบนหลอดกลีบดอก รังไข่ใต้วงกลีบ ผลรวม แบบผลสด ผนังผลชั้นในแข็ง (drupe) และเชื่อมติดกันคล้ายผลเดียว
ช่วงเวลาออกดอก ออกดอกเป็นระยะตลอดทั้งปี
การกระจายพันธุ์ ศรีลังกา อินเดีย จีน ญี่ปุ่น พม่า ไทย กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ตอนเหนือของออสเตรเลีย หมู่เกาะโซโลมอน (e-flora China, 07-05-2015)
ประโยชน์ ใบอ่อนนิยมใส่ในแกงกะทิหรือเป็นผักรองในห่อหมก เปลือกต้นให้สีย้อมสีแดง รากให้สีย้อมสีเหลือง
สรรพคุณ ตำรายาไทยใช้ผสสดดิบหรือห่าม ฝานเป็นชิ้นบาง ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆ ให้เหลือง ต้มหรือชงกับน้ำ ดื่มแก้คลื่นไส้อาเจียน สารที่ออกฤทธิ์คือ asperuloside (สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ)
บริเวณที่ปลูก บริเวณสวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติฯ
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง
ภาพอื่นๆ
แชร์โพสนี้ จำนวนผู้เข้าชม
4231